ท่าวิ่งเป็นคลาสสิคของการพัฒนาการวิ่ง แค่การที่ไม่มีโคช หรือไม่ได้วิ่งอยู่หน้ากระจกทำให้เราเช็คัวเองได้ยากเหมือนกัน ว่าท่าวิ่งของเราถูกต้องสวยงามมั้ย ก่อนหน้านี้เราสามารเช็คการเคลื่อนไหวของร่างกายขณะวิ่งได้ด้วย HRM Band (สายคาดอกสำหรับวัดหัวใจ) รุ่นท็อปๆหน่อย แต่หลังจากนาฬิกาของ Garmin เองพัฒนาไปค่อนข้างเยอะมากในส่วนของการวัดหัวใจ Garmin เลยออก Running Dynamic Pod มาเพื่อวัดการเคลื่อนที่ของร่างการแบบเพียวๆ Garmin Dynamic Pod วัดอะไรได้บ้างนอกเหนือจากที่นาฬิกาเราทำได้ Cadence จำนวนก้าวต่อนาที

หลังจากเจ็บยาวและกลับมาวิ่งใหม่ก็เริ่มซ้อมวิ่งแบบใหม่ไปด้วยเลย ก่อนหน้าวิ่งตาม Nike+ Running Plan เค้าบอกให้วิ่งกี่โลก็วิ่งไปตามนั้น ระหว่างที่เจ็บ ITB ก็หาข้อมูลเพิ่มในเรื่องที่ติดใจสงสัยมานั้น นั่นคือทำไมหัวใจเราพีคมากเวลาวิ่ง เทียบกับบางคนวิ่ง Half Marathon แล้วหัวใจไม่เกิน Zone 3 ของเรานี่ 3 โลแรกก็โดดไปโซน 4 เลย

หลังจากจบจอมบึงมาราธอน ตั้งใจว่าจะหยุดพัก 1 เดือน เพื่อให้หายเจ็บเอ็นข้อเท้าด้านนอก ผ่านไป 1 เดือนเริ่มวิ่งอีกครั้ง เพื่อจะลงมาราธอนที่ภูเก็ตเดือนมิถุนายน พบว่าเจ็บหัวเข้าขวาเล็กน้อย เมื่อวิ่งไปได้ประมาณ 10 โล ซึ่งตอนนั้นเข้าใจว่าน่าจะเป็นเพราะไม่ได้วิ่งมานาน กล้ามเนื้อาจจะไม่พร้อมสำหรับการวิ่ง เลยค่อยๆเริ่มจากระยะสั้นๆก่อน คือ 5 โล พบว่า 5 โลก็ยังเจ็บ

  จอมบึงมาราธอนคล้ายกับการสอบ Hunter นิดนึง คือจริงๆแล้วการแข่งขันเริ่มตั้งแต่เราจอดรถแล้ว เพราะที่จอดรถห่างจากงานประมาณ 3 กม. และรถรับส่งมีน้อย ถ้ารอคงไม่ทัน ก็ต้องเริ่มออกตัวกันตั้งแต่จุดจอดรถเลย ช่วงวิ่งไปจุดปล่อยตัว อาการเจ็บเอ็นข้อเท้าด้านนอกออกอาการทันที รู้สึกจิตตกว่าจะวิ่งถึง 21 โลมั้ยวันนี้ มาถึงจุดปล่อยตัว 5:30 พอดี เข้าห้องน้ำ 1 ครั้งยังทัน เพราะปล่อยตัวกันนานมาก

ลงสมัครจอมบึงมาราธอนหมายมั่นว่าจะวิ่งเข้าเส้นชัยต่ำกว่า 2 ชม. ให้ได้ ย้อนกลับไปหนึ่งสัปดาห์ก่อนจอมบึงมาราธอน Last Finish Long Run การซ้อมวิ่งยาวครั้งสุดท้าย เอ็นข้อเท้าขวาด้านนอกเริ่มมีอาการเจ็บเล็กน้อย แม้จะเล็กน้อยแต่เราจำมันได้อย่างดี มันคือเอ็นเท้าด้านข้าง แบบเดี๋ยวกับที่เคยเป็นที่เท้าซ้ายนั่นเอง และเราก็หยุดวิ่งทันที่ อาการนี้หายยากมาก ครั้งก่อนใช้เวลาร่วม 20 วันกว่าจะหายดี แต่คิดว่าเจ็บนิดเดียวเดี๋ยวก็น่าจะดีขั้น ซึ่งเราก็พยายามกลับมาซ้อมอีกทีวันศุกร์ เมื่อวิ่งไปได้